เคยได้ยินคำแนะนำกันมาว่าเมื่อเสียบแฟลชไดรฟ์แล้วให้ใช้วิธีคลิกขวาเพื่อเลือกเมนู Explore เพื่่อหลีกเลี่ยงการทำงานของไวรัส Autorun ในบทนี้เราจะมาพิสูจน์กันครับว่าจริงหรือไม่?
ปล.บทความนี้จะต่อเนื่องจาก http://www.ppantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=SV2792795 ดังนั้นแนะนำว่าควรอ่านบทความที่ว่าก่อนนะครับเพื่อความต่อเนื่องในเนื้อหา
เรามาทดลองกันโดยสร้างไฟล์ Autorun.inf ขึ้นมาแล้วเปลี่ยนคำสั่งภายในเป็นแบบนี้นะครับ
จะเห็นว่าผมใส่ถึง 3 เมนูคือ Open , Explore และ ทดสอบเพิ่มเมนู เพื่อจะได้เห็นชัดๆว่าเราสามารถจะกำหนดเมนูชื่ออะไรก็ได้ หลังจากนั้นผมนำแฟลชไดรฟ์ที่ได้สร้างไฟล์ Autorun.inf ใส่ไว้แล้วออกมาแล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่ เรามาดูผลจากการคลิกขวากันครับ
จะเห็นว่ามีเมนูทั้ง 3 ที่ผมใส่ไว้ในไฟล์ Autorun.inf และตอนนี้ไม่ว่าผมจะเลือกเมนูไหน(รวมไปถึงการดับเบิ้ลคลิก) ก็จะเป็นการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข(Calc.exe) หรือตัวไวรัส(สมมุติ)ขึ้นมาทั้งสิ้นครับ ดังนั้นผมขอยืนยันอีกครั้งว่าการพิมพ์ชื่อไดรฟ์ลงไปตรงๆปลอดภัยที่สุดครับเพราะเราคงคาดเดาได้ยากว่าคนเขียนไวรัสมันจะใช้การกำหนดชื่อเมนูในไฟล์ Autorun.inf แบบไหนบ้าง
การแก้ไขปัญหา Autorun.inf แบบตรงจุด
เอาล่ะครับหลังจากที่ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับลูกเล่นของไวรัสที่อาศัยไฟล์ Autorun.inf ในการแพร่เชื่อทั้งช่องทาง Autoplay และ Autorun กันมาพอสมควรแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมาดูวิธีการปิดตายการทำงานของเจ้าไฟล์ Autorun.inf กันครับ
จากที่พบเห็นมาโดยส่วนใหญ่จะมีการแนะนำกันว่าเพื่อป้องกันไวรัสจำพวก Autorun ให้ทำการปิดฟังก์ชั่นการทำงานของ Autoplay ด้วยโปรแกรม Gpedit โดยการตั้งค่าในส่วนของ Turn off Autoplay ทั้งใน Computer Configuration และ User Configuration ให้เป็น Enable => All drive
ซึ่งถึงตรงนี้แล้วทุกคนคงจะพอมองออกว่าวิธีข้างต้นนั้น มันเป็นการป้องกันปัญหาได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้นไม่ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด เพราะ Autoplay และ Autorun นั้นเป็นคนละตัวกัน ดังนั้นเพียงการปิด Autoplay ซึ่งจริงๆแล้วก็คือการยกเลิกหน้าต่าง Autoplay นั้นก็จะสามารถป้องกันไวรัสที่ใช้คำสั่ง Action ร่วมกับ Open ในช่องทางของ Autoplay ตามที่ได้รู้กันไปแล้วเท่านั้นเอง
แต่ในกรณีที่ไวรัส(โดยส่วนใหญ่) ซึ่งใช้ช่องทางของ Autorun คือใช้การระบุคำสั่งให้เปิดตัวไวรัสไว้ในไฟล์ Autorun.inf ซึ่งจะมีผลเมื่อเราทำการดับเบิ้ลคลิกเรียกใช้ไดรฟ์นั้น รวมถึงการคลิกขวาแล้วเลือกเอาจากเมนูกลับไม่ได้รับการป้องกันจากการปิด Autoplay แต่อย่างใดนะครับ นั่นหมายถึงว่าถ้าเราดับเบิ้ลคลิกที่ตัวไดรฟ์ที่มีไวรัสอยู่ ก็ยังเป็นการเรียกไวรัสขึ้นมาทำงานอยู่ดีครับ(ไม่งงนะครับ)
ดังนั้นด้วยวิธีการข้างต้นนั้นนอกจากจะไม่สามารถป้องกันไวรัสได้อย่างแท้จริงแล้วก็ยังทำให้เราไม่สามารถใช้ช่องทางอำนวยความสะดวกของ Autoplay ในการเลือกโปรแกรมเพื่อจัดการกับไฟล์ในแฟลชไดรฟ์ได้อีกต่างหาก
เอาล่ะ ในเมื่อรู้แล้วว่าปัญหามันเกิดจาก Autorun เราก็ปิด Autorun สิจะได้เป็นการแก้ที่ตรงจุด เหมือนการดับทุกข์ก็ควรดับที่เหตุแห่งทุกข์นั่นเองครับ โดยให้เราเปิดโปรแกรม Regedit เข้าไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE\\SOFTWARE\\Microsoft\\Windows NT\\CurrentVersion\\IniFileMapping จากนั้นให้สร้าง Key ใหม่ชื่อ Autorun.inf แล้วทำการแก้ไข Value (Default) เป็น SYS:DoesNotExist แล้วปิดโปรแกรม Regedit เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการปิดการทำงานของ Autorun เรียบร้อยแล้วล่ะครับ
โดยการเพิ่ม Key ใน Registry ข้างต้นนั้นเป็นการบอกให้ Windows มองข้ามไฟล์ Autorun.inf ไปเลยไม่ต้องสนใจอ่านคำสั่งมัน ซึ่งผลก็คือถึงแม้ว่าไวรัสจะใช้คำสั่ง Action ร่วมกับ Open นั้นในหน้าต่าง Autoplay ที่ขึ้นมาก็จะไม่มีส่วนเมนูของโปรแกรมที่กำหนดไว้ในส่วนนั้นๆแต่อย่าง
หรือในกรณีที่ไวรัสใช้คำสั่ง ShellExecute และคำสั่งเปิดไฟล์อื่นๆก็เช่นเดียวกันครับจะไม่มีผลใดๆเลยเพราะ Windows จะมองข้ามไฟล์ Autorun.inf ไปเลย ทำให้เราสามารถที่จะดับเบิ้ลคลิกเข้าไปในไดรฟ์ได้เลยโดยไม่ต้องกังวลเพราะ Windows มันจะไม่ฟังคำสั่งจาก Autorun.inf อีกแล้ว
ดังนั้นถึงแม้ว่าไวรัสจะเขียนคำสั่งอะไรไว้ข้างในก็ไม่มีผลใดๆครับด้วยวิธีนี้จึงนับว่าปลอดภัย ตรงประเด็น แถมยังสามารถใช้ความสามารถของ Autoplay ในการเปิดโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการกับไฟล์ที่อยู่ในแฟลชไดรฟ์ได้เหมือนเดิมอีกต่างหาก(เพราะการทำงานของ Autoplay ไม่จำเป็นต้องอาศัยไฟล์ Autorun.inf)
หมายเหตุ ในกรณีที่ได้ยกเลิกไปแล้วและต้องการกลับมาใช้ไฟล์ Autorun.inf อีกก็เพียงทำการลบ Key Autorun.inf ทิ้งแล้วบู๊ตเครื่องใหม่ก็สามารถที่จะใช้ไฟล์ Autorun.inf ได้เหมือนเดิมครับ
และสำหรับคนที่ไม่อยากแก้ไขค่า Registry ด้วยตนเองนั้นให้โหลดโปรแกรม Dis_Autorun ไปใช้นะครับ โดยสามารถที่จะเลือกปิดหรือเปิดการใช้งาน Autorun ได้เลยครับ
โหลดได้จากที่นี่นะครับ http://cid-53bd29aef03dd4d3.skydrive.live.com/browse.aspx/Virus-Books
ไขข้อข้องใจแฟลชไดรฟ์แบบ U3
ตามสัญญาครับที่ผมรับปากว่าจะอธิบายถึงสาเหตุที่แฟลชไดรฟ์แบบ U3 สามารถที่จะรันโปรแกรมขึ้นมาได้เมื่อเสียบแฟลชไดรฟ์เข้าเครื่อง ทั้งๆที่ผมบอกเองว่าคำสั่ง Open ที่จะใช้เปิดโปรแกรมขึ้นมาแบบอัตโนมัตินั้นไม่สามารถใช้กับแฟลชไดรฟ์ได้
สำหรับคนที่ใช้แฟลชไดรฟ์แบบนี้นั้นจะสังเกตเห็นว่าเมื่อเราเสียบแฟลชไดรฟ์เข้าไปนั้น Windows มันจะมองเห็นเป็น 2 ไดรฟ์นะครับ โดยหนึ่งในนั้น Windows จะเห็นเป็น CD Drive ลองดูตามรูปตัวอย่างนะครับเมื่อผมเสียบแฟลชไดรฟ์เข้าไปจะเห็นว่ามีไดรฟ์ F และ G เพิ่มขึ้นมา และโดยไดรฟ์ F นั้น Windows จะมองเห็นเป็น CD Drive ส่วนแฟลชไดรฟ์จริงๆของผมจะเป็นไดรฟ์ G ครับ
หลายๆคนคงพอจะเดาออกแล้วว่า U3 นั้นใช้วิธีการอะไรถึงทำการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงานด้วยคำสั่ง Open ใน Autorun.inf ได้ ใช่แล้วครับมันจะใช้การจำลองไดรฟ์ซึ่งเป็น CD Drive ขึ้นมาซึ่งภายในนั้นก็จะมีไฟล์ Autorun.inf และโปรแกรมซึ่งจะถูกเรียกใช้ด้วยคำสั่ง Open และเมื่อ Windows มองว่าตัวไดรฟ์นั้นเป็นประเภท CD Drive จึงอนุญาตให้สามารถเรียกโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง Open ได้นั่นเองครับ เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ผมพูดนั้นถูกต้อง เราลองเข้าไปดูภายในไดรฟ์ F กันครับ
จะเห็นได้ว่ามีการเรียกใช้โปรแกรมด้วยคำสั่ง Open จากไฟล์ Autorun.inf ได้จริงๆด้วย นั่นเป็นเพราะว่ามันหลอก Windows ว่าตัวเองเป็น CD นั่นเองครับจึงสามารถที่จะใช้คำสั่ง Open ได้ คงเข้าใจวิธีการที่ U3 ใช้กันแล้วนะครับ
ส่วนใครที่กังวลใจว่าไวรัสจะอาศัยช่องทางนี้ในการเรียกตัวเองขึ้นมาโดย ก็ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะจากการทดลองดูนั้น CD(จำลอง)ที่ U3 สร้างขึ้นมานั้นเป็น CD แบบธรรมดาๆ(ไม่สามารถเขียนหรือแก้ไขไฟล์ภายในได้ครับ) แต่ถ้าใครยังกังวลว่าในอนาคตไวรัสมันอาจจะพัฒนาให้สามารถเขียนไฟล์ลงไปได้ แล้วอยากจะยกเลิก U3 เพื่อใช้เป็นแฟลชไดรฟ์ธรรมดาๆก็สามารถโหลดโปรแกรมในการลบการทำงานของ U3 ทิ้งไปได้ โดยให้เข้าไปโหลดได้ที่
http://u3uninstall.s3.amazonaws.com/U3Uninstall.exe ซึ่งหลังจากทำการ Format ด้วยโปรแกรมดังกล่าวแล้ว แฟลชไดรฟ์แบบ U3 ก็จะกลายเป็นแฟลชไดรฟ์ธรรมดาๆไม่มีการสร้าง CD(จำลอง)และเรียกใช้โปรแกรมใดๆแบบอัตโนมัติขึ้นมาอีกแล้วครับ
แต่ถ้าใคร Format ไปแล้วเกิดเปลี่ยนใจอยากจะกลับมาใช้ U3 อีกก็สามารถหาโปรแกรมในการเปิดใช้ U3 ใหม่ได้จากเว็บไซต์ผู้ผลิตแฟลชไดรฟ์ยี่ห้อนั้นๆนะครับเช่น
http://u3.sandisk.com/download/apps/LPInstaller.exe ยี่ห้อ Sandisk
http://www.kingston.com/support/downloads/usbdatatrav/U3update.exe ยี่ห้อ Kingston
ปล.เพื่อความต่อเนื่องและครบถ้วนแนะนำให้อ่านบทความด้านล่างนี้ต่อครับ
http://www.ppantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=SV2792795
สังคมยังอยู่ได้ เพราะคนไทยยังแบ่งปัน
คลิกขวา Explore หรือ Open แล้วไม่ติดไวรัส จริงหรือ?
ปล.บทความนี้จะต่อเนื่องจาก http://www.ppantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=SV2792795 ดังนั้นแนะนำว่าควรอ่านบทความที่ว่าก่อนนะครับเพื่อความต่อเนื่องในเนื้อหา
เรามาทดลองกันโดยสร้างไฟล์ Autorun.inf ขึ้นมาแล้วเปลี่ยนคำสั่งภายในเป็นแบบนี้นะครับ
จะเห็นว่าผมใส่ถึง 3 เมนูคือ Open , Explore และ ทดสอบเพิ่มเมนู เพื่อจะได้เห็นชัดๆว่าเราสามารถจะกำหนดเมนูชื่ออะไรก็ได้ หลังจากนั้นผมนำแฟลชไดรฟ์ที่ได้สร้างไฟล์ Autorun.inf ใส่ไว้แล้วออกมาแล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่ เรามาดูผลจากการคลิกขวากันครับ
จะเห็นว่ามีเมนูทั้ง 3 ที่ผมใส่ไว้ในไฟล์ Autorun.inf และตอนนี้ไม่ว่าผมจะเลือกเมนูไหน(รวมไปถึงการดับเบิ้ลคลิก) ก็จะเป็นการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข(Calc.exe) หรือตัวไวรัส(สมมุติ)ขึ้นมาทั้งสิ้นครับ ดังนั้นผมขอยืนยันอีกครั้งว่าการพิมพ์ชื่อไดรฟ์ลงไปตรงๆปลอดภัยที่สุดครับเพราะเราคงคาดเดาได้ยากว่าคนเขียนไวรัสมันจะใช้การกำหนดชื่อเมนูในไฟล์ Autorun.inf แบบไหนบ้าง
เอาล่ะครับหลังจากที่ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับลูกเล่นของไวรัสที่อาศัยไฟล์ Autorun.inf ในการแพร่เชื่อทั้งช่องทาง Autoplay และ Autorun กันมาพอสมควรแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมาดูวิธีการปิดตายการทำงานของเจ้าไฟล์ Autorun.inf กันครับ
จากที่พบเห็นมาโดยส่วนใหญ่จะมีการแนะนำกันว่าเพื่อป้องกันไวรัสจำพวก Autorun ให้ทำการปิดฟังก์ชั่นการทำงานของ Autoplay ด้วยโปรแกรม Gpedit โดยการตั้งค่าในส่วนของ Turn off Autoplay ทั้งใน Computer Configuration และ User Configuration ให้เป็น Enable => All drive
ซึ่งถึงตรงนี้แล้วทุกคนคงจะพอมองออกว่าวิธีข้างต้นนั้น มันเป็นการป้องกันปัญหาได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้นไม่ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด เพราะ Autoplay และ Autorun นั้นเป็นคนละตัวกัน ดังนั้นเพียงการปิด Autoplay ซึ่งจริงๆแล้วก็คือการยกเลิกหน้าต่าง Autoplay นั้นก็จะสามารถป้องกันไวรัสที่ใช้คำสั่ง Action ร่วมกับ Open ในช่องทางของ Autoplay ตามที่ได้รู้กันไปแล้วเท่านั้นเอง
แต่ในกรณีที่ไวรัส(โดยส่วนใหญ่) ซึ่งใช้ช่องทางของ Autorun คือใช้การระบุคำสั่งให้เปิดตัวไวรัสไว้ในไฟล์ Autorun.inf ซึ่งจะมีผลเมื่อเราทำการดับเบิ้ลคลิกเรียกใช้ไดรฟ์นั้น รวมถึงการคลิกขวาแล้วเลือกเอาจากเมนูกลับไม่ได้รับการป้องกันจากการปิด Autoplay แต่อย่างใดนะครับ นั่นหมายถึงว่าถ้าเราดับเบิ้ลคลิกที่ตัวไดรฟ์ที่มีไวรัสอยู่ ก็ยังเป็นการเรียกไวรัสขึ้นมาทำงานอยู่ดีครับ(ไม่งงนะครับ)
ดังนั้นด้วยวิธีการข้างต้นนั้นนอกจากจะไม่สามารถป้องกันไวรัสได้อย่างแท้จริงแล้วก็ยังทำให้เราไม่สามารถใช้ช่องทางอำนวยความสะดวกของ Autoplay ในการเลือกโปรแกรมเพื่อจัดการกับไฟล์ในแฟลชไดรฟ์ได้อีกต่างหาก
เอาล่ะ ในเมื่อรู้แล้วว่าปัญหามันเกิดจาก Autorun เราก็ปิด Autorun สิจะได้เป็นการแก้ที่ตรงจุด เหมือนการดับทุกข์ก็ควรดับที่เหตุแห่งทุกข์นั่นเองครับ โดยให้เราเปิดโปรแกรม Regedit เข้าไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE\\SOFTWARE\\Microsoft\\Windows NT\\CurrentVersion\\IniFileMapping จากนั้นให้สร้าง Key ใหม่ชื่อ Autorun.inf แล้วทำการแก้ไข Value (Default) เป็น SYS:DoesNotExist แล้วปิดโปรแกรม Regedit เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการปิดการทำงานของ Autorun เรียบร้อยแล้วล่ะครับ
โดยการเพิ่ม Key ใน Registry ข้างต้นนั้นเป็นการบอกให้ Windows มองข้ามไฟล์ Autorun.inf ไปเลยไม่ต้องสนใจอ่านคำสั่งมัน ซึ่งผลก็คือถึงแม้ว่าไวรัสจะใช้คำสั่ง Action ร่วมกับ Open นั้นในหน้าต่าง Autoplay ที่ขึ้นมาก็จะไม่มีส่วนเมนูของโปรแกรมที่กำหนดไว้ในส่วนนั้นๆแต่อย่าง
หรือในกรณีที่ไวรัสใช้คำสั่ง ShellExecute และคำสั่งเปิดไฟล์อื่นๆก็เช่นเดียวกันครับจะไม่มีผลใดๆเลยเพราะ Windows จะมองข้ามไฟล์ Autorun.inf ไปเลย ทำให้เราสามารถที่จะดับเบิ้ลคลิกเข้าไปในไดรฟ์ได้เลยโดยไม่ต้องกังวลเพราะ Windows มันจะไม่ฟังคำสั่งจาก Autorun.inf อีกแล้ว
ดังนั้นถึงแม้ว่าไวรัสจะเขียนคำสั่งอะไรไว้ข้างในก็ไม่มีผลใดๆครับด้วยวิธีนี้จึงนับว่าปลอดภัย ตรงประเด็น แถมยังสามารถใช้ความสามารถของ Autoplay ในการเปิดโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการกับไฟล์ที่อยู่ในแฟลชไดรฟ์ได้เหมือนเดิมอีกต่างหาก(เพราะการทำงานของ Autoplay ไม่จำเป็นต้องอาศัยไฟล์ Autorun.inf)
หมายเหตุ ในกรณีที่ได้ยกเลิกไปแล้วและต้องการกลับมาใช้ไฟล์ Autorun.inf อีกก็เพียงทำการลบ Key Autorun.inf ทิ้งแล้วบู๊ตเครื่องใหม่ก็สามารถที่จะใช้ไฟล์ Autorun.inf ได้เหมือนเดิมครับ
และสำหรับคนที่ไม่อยากแก้ไขค่า Registry ด้วยตนเองนั้นให้โหลดโปรแกรม Dis_Autorun ไปใช้นะครับ โดยสามารถที่จะเลือกปิดหรือเปิดการใช้งาน Autorun ได้เลยครับ
โหลดได้จากที่นี่นะครับ http://cid-53bd29aef03dd4d3.skydrive.live.com/browse.aspx/Virus-Books
ไขข้อข้องใจแฟลชไดรฟ์แบบ U3
ตามสัญญาครับที่ผมรับปากว่าจะอธิบายถึงสาเหตุที่แฟลชไดรฟ์แบบ U3 สามารถที่จะรันโปรแกรมขึ้นมาได้เมื่อเสียบแฟลชไดรฟ์เข้าเครื่อง ทั้งๆที่ผมบอกเองว่าคำสั่ง Open ที่จะใช้เปิดโปรแกรมขึ้นมาแบบอัตโนมัตินั้นไม่สามารถใช้กับแฟลชไดรฟ์ได้
สำหรับคนที่ใช้แฟลชไดรฟ์แบบนี้นั้นจะสังเกตเห็นว่าเมื่อเราเสียบแฟลชไดรฟ์เข้าไปนั้น Windows มันจะมองเห็นเป็น 2 ไดรฟ์นะครับ โดยหนึ่งในนั้น Windows จะเห็นเป็น CD Drive ลองดูตามรูปตัวอย่างนะครับเมื่อผมเสียบแฟลชไดรฟ์เข้าไปจะเห็นว่ามีไดรฟ์ F และ G เพิ่มขึ้นมา และโดยไดรฟ์ F นั้น Windows จะมองเห็นเป็น CD Drive ส่วนแฟลชไดรฟ์จริงๆของผมจะเป็นไดรฟ์ G ครับ
หลายๆคนคงพอจะเดาออกแล้วว่า U3 นั้นใช้วิธีการอะไรถึงทำการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงานด้วยคำสั่ง Open ใน Autorun.inf ได้ ใช่แล้วครับมันจะใช้การจำลองไดรฟ์ซึ่งเป็น CD Drive ขึ้นมาซึ่งภายในนั้นก็จะมีไฟล์ Autorun.inf และโปรแกรมซึ่งจะถูกเรียกใช้ด้วยคำสั่ง Open และเมื่อ Windows มองว่าตัวไดรฟ์นั้นเป็นประเภท CD Drive จึงอนุญาตให้สามารถเรียกโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง Open ได้นั่นเองครับ เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ผมพูดนั้นถูกต้อง เราลองเข้าไปดูภายในไดรฟ์ F กันครับ
จะเห็นได้ว่ามีการเรียกใช้โปรแกรมด้วยคำสั่ง Open จากไฟล์ Autorun.inf ได้จริงๆด้วย นั่นเป็นเพราะว่ามันหลอก Windows ว่าตัวเองเป็น CD นั่นเองครับจึงสามารถที่จะใช้คำสั่ง Open ได้ คงเข้าใจวิธีการที่ U3 ใช้กันแล้วนะครับ
ส่วนใครที่กังวลใจว่าไวรัสจะอาศัยช่องทางนี้ในการเรียกตัวเองขึ้นมาโดย ก็ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะจากการทดลองดูนั้น CD(จำลอง)ที่ U3 สร้างขึ้นมานั้นเป็น CD แบบธรรมดาๆ(ไม่สามารถเขียนหรือแก้ไขไฟล์ภายในได้ครับ) แต่ถ้าใครยังกังวลว่าในอนาคตไวรัสมันอาจจะพัฒนาให้สามารถเขียนไฟล์ลงไปได้ แล้วอยากจะยกเลิก U3 เพื่อใช้เป็นแฟลชไดรฟ์ธรรมดาๆก็สามารถโหลดโปรแกรมในการลบการทำงานของ U3 ทิ้งไปได้ โดยให้เข้าไปโหลดได้ที่
http://u3uninstall.s3.amazonaws.com/U3Uninstall.exe ซึ่งหลังจากทำการ Format ด้วยโปรแกรมดังกล่าวแล้ว แฟลชไดรฟ์แบบ U3 ก็จะกลายเป็นแฟลชไดรฟ์ธรรมดาๆไม่มีการสร้าง CD(จำลอง)และเรียกใช้โปรแกรมใดๆแบบอัตโนมัติขึ้นมาอีกแล้วครับ
แต่ถ้าใคร Format ไปแล้วเกิดเปลี่ยนใจอยากจะกลับมาใช้ U3 อีกก็สามารถหาโปรแกรมในการเปิดใช้ U3 ใหม่ได้จากเว็บไซต์ผู้ผลิตแฟลชไดรฟ์ยี่ห้อนั้นๆนะครับเช่น
http://u3.sandisk.com/download/apps/LPInstaller.exe ยี่ห้อ Sandisk
http://www.kingston.com/support/downloads/usbdatatrav/U3update.exe ยี่ห้อ Kingston
ปล.เพื่อความต่อเนื่องและครบถ้วนแนะนำให้อ่านบทความด้านล่างนี้ต่อครับ
http://www.ppantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=SV2792795
สังคมยังอยู่ได้ เพราะคนไทยยังแบ่งปัน
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ