สัมผัสแห่งความแรงในการโอนถ่ายข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ นอกจากความเร็วจากซีพียู หน่วยความจำแล้ว สิ่งหนึ่งที่มีผลกับความเร็วในการทำงานในส่วนของการโอนถ่ายไฟล์คือความเร็วในการเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์
ซึ่งในสมัยก่อนนั้น ไฟล์มีขนาดเล็ก ไม่ต้องการการโอนถ่ายข้อมูลมากนัก มีเพียงเอกสาร ข้อความ ขนาดเพียงไม่กี่กีโลไบต์เท่านั้น แต่สำหรับในปัจจุบัน มีการโอนถ่ายข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เราคงหงุดหงิดกับการเสียเวลารอในการค้นหา คัดลอก ย้ายข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เช่น อัลบั้มเพลง อัลบัมภาพ ไฟล์ภาพยนตร์ มิวสิควีดีโอ หรือแม้กระทั่งการทำงานกับไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ยิ่งต้องใช้เวลาในการโอนถ่ายข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากไฟล์มีขนาดใหญ่ จึงได้มีการพัฒนาความเร็วในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิกส์มาโดยตลอด สำหรับในสมัยก่อนนั้นจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ IDE66 (CD-ROM) IDE100 จากนั้นพัฒนาเป็น ATA133 (เราอาจเรียกว่า PATA คือ Parallel ATA) ซึ่งจะมีส่วนประกอบในการติดตั้งคือ สายแพร และสายไฟ และปัจจุบันกับรูปแบบการเชื่อมต่อแบบใหม่ SATA ที่เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ต่างรองรับการเชื่อมต่อแบบนี้กันทั้งสิ้น ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อโดยสายสีแดงๆเพียงเส้นเดียว และมีขนาดเล็ก บาง ทำให้ไม่เกะกะและสามารถระบายความร้อนในตัวเคส
ได้ีเป็นอย่างดีอีกด้วย โดยการเชื่อมต่อแบบ SATA นั้น เริ่มแรกได้มีการพัฒนาความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล
ที่ 1.5Gb/s จากนั้นพัฒนาเพิ่มความเร็วเป็น 2 เท่าคือ SATAII ด้วยความเร็ว
ในการโอนถ่ายข้อมูลที่ 3Gb/s จะเห็นได้ว่ามีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงกว่าแบบเดิมคือ IDE อยู่มากทีเดียว
ปัจจุบันการเชื่อมต่อแบบ IDE ผู้ผลิตเมนบอร์ดทั้งหลายต่างก็รองรับการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์แบบ SATA และ SATAII ส่วน ATA หรือ IDE นั้นยกตำแหน่งให้กับ DVD-Rom/DVD-RW หรือ CD-Rom แทน
SATA 6Gb/s
ทาง SATA-IO วางแผนที่จะสร้างมาตรฐานใหม่กับการเชื่อมต่อ SATA 6Gb/s ซึ่งแน่นอนว่าฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาขนาดความจุมากถึง 750GB
และเกือบจะเตะ 1 เทราไบต์แล้ว
(หากเทียบการคำณวน 1024KB = 1MB 1024MB = 1GB 1024GB = 1 Terabytes)
ยิ่งขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์สูงขึ้นเรื่อยๆตามความต้องการของซอฟต์แวร์และการบันทึกข้อมูลแบบดิจิตอล ทั้งภาพ เสียง มัลติมีเดียแล้วรับรองว่าการพัฒนาฮาร์ดดิสก์จะต้องเพิ่มขีดความสามารถ
ในการทำงานให้รองรับการโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่ๆได้โดยใช้เวลาไม่นาน มิฉะนั้นการคัดลอกไฟล์ใหญ่ๆคงจะต้องใช้เวลานานจนผู้ใช้เบื่อไปเลยก็ได้ (เปรียบเทียบจากแผ่น DVD ขนาดความจุ 4.7 GB ที่ได้รับความนิยมมาก
ทำให้คาดเดาได้ว่า การบันทึกข้อมูลในปัจจุบันนั้น ขนาดความจุ 4 GB นี่เป็นเรื่องเล็กๆไปแล้ว (ปกติแผ่นซีดี 700MB ปัจจุบันนับว่าความจุน้อยมากๆเมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่ยังใช้ Floppy Disk ขนาด 1.44 MB อยู่) แน่นอนว่าเราจะก้าวไปสู่ระดับเทราไบต์ในไม่ช้านี้
รู้จักกับ External SATA
ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหู แต่หากคุณอ่านสเปคของเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ก็จะเห็นได้ว่ารองรับการเชื่อมต่อแบบ eSATA ทั้งนั้น
นั่นหมายความว่า คุณสามารถนำฮาร์ดดิสก์แบบ SATA มาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ทันที
โดยที่ไม่ต้องปิดเครื่องเหมือนกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ USB ซึ่งขณะนี้ USB2.0 จะเรียกได้ว่ารองรับการโอนถ่ายข้อมูลครั้งละมากๆ ไม่ไหวแล้วเหมือนกัน ดังนั้น eSATA จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เป็นผลมาจากการกำหนดทิศทางเทคโนโลยีจากพฤติกรรม
ผู้บริโภคที่ต้องการสื่อบันทึกข้อมูลที่ไม่ใช่แค่ความจุ 128MB – 1GB อีกต่อไป แต่จะต้องการอุปกรณ์เก็บข้อมูลตั้งแต่ 80GB ขึ้นไป เนื่องจากเก็บภาพยนตร์ DVD แผ่นหนึ่งก็ใช้เนื้อที่ร่วมๆ 5GBเข้าไปแล้ว นี่ยังไม่นับ DVD9 Dual Layer ที่มีขนาดความจุ 8.5 GB อีก (จะเห็นได้ว่า เครื่องเล่น iPod ยอดนิยมเริ่มที่ความจุ 30GB – 60GB เข้าไปแล้ว
มาตรฐานสื่อบันทึกข้อมูลแบบใหม่ External SATA (eSATA):
ถ้าถามถึงสื่อบันทึกข้อมูล แน่นอนว่าสิ่งแรกที่นึกถึงคือ USB Mass Storage พวก USB Drive และ Memory Card ซึ่งแน่นอนว่าสื่อบันทึกข้อมูลเหล่านี้ได้เปรียบฮาร์ดดิสก์ตรงที่ความแข็งแรง ทนทาน ทนต่อแรงกระแทก ไม่เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ที่มีหัวอ่านที่บอบบาง เสี่ยงต่อความเสียหายของข้อมูลมากกว่า แต่ในปัจจุบัน ด้วยข้อจำกัดของการเชื่อมต่อแบบ USB และ IEEE1394 หรือ Firewire ทำให้การบันทึกข้อมูลแบบภายนอก eSATA มีบทบาทมากขึ้น
แต่เดิมนั้น SATA ได้รับการออกแบบให้ใช้เป็นอินเตอร์เฟซการเชื่อมต่อ
ฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายใน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบและความเร็ว
ในการโอนถ่ายไฟล์ การตัดต่อวีดีโอ แต่ต่อมาได้มีการนำเอาเทคโนโลยีนี้พัฒนา
เพื่อให้สามารถใช้งานแบบต่อภายนอกได้ แต่ยังคงความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพ
เช่นเดียวกับการเชื่อมต่อผ่าน USB หรือ IEEE1394 ซึ่งเราเรียกว่า external SATA หรือ eSATA นั่นเอง และด้วยข้อได้เปรียบนี้ คุณสามารถใช้สายเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ยาวถึง 2 เมตรมาเชื่อมต่อได้ อำนวยความสะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์
โดยไม่ต้องถอดฮาร์ดดิกส์จากคอมพิวเตอร์ก็ลากสายมาเชื่อมต่อได้ทันที นับว่าเป็นมาตรฐานใหม่ที่น่าจับตามองมากทีเดียว เนื่องจาก SATA มีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูลที่เร็วกว่า และ eSATA ให้ประสิทธิภาพในการโอนถ่ายข้อมูล
ที่เหนือกว่าโซลูชั่นอื่นๆและรองรับการเชื่อมต่อแบบ Hot Plug ซึ่งเมนบอร์ดหลากหลาย
ยี่ห้อรองรับ
ข้อดีของ eSATA คือ
- ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลรวดเร็วกว่า USB2.0 และ IEEE1394 ถึง 6 เท่า
- เชื่อมต่อ ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
- ประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ คุ้มค่ากับการลงทุน
- เชื่อมต่อผ่านสายยาวถึง 2 เมตร
ใช้เป็น External Direct Attached Storage (DAS)
เปรียบเทียบความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล (จาก SATA-IO)
แม้ว่าจะมีอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่เชื่อมต่อผ่าน USB2.0 มากมาย แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพไม่เท่า SATA ดังนั้นการเชื่อมต่อแบบ eSATA จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากที่สุดในขณะนี้
แหล่งข้อมูล
Wikipedia
SATA-IO
ข้อมูลและภาพเป็นลิขสิทธิ์ของเวปไซต์
The Serial ATA International Organization (SATA-IO)
แนะนำ - ติชม
ได้ที่
yokekung@gmail.com หรือ yoke_rit@hotmail.com ครับ
สัมผัสแห่งความแรงในการโอนถ่ายข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ นอกจากความเร็วจากซีพียู หน่วยความจำแล้ว สิ่งหนึ่งที่มีผลกับความเร็วในการทำงานในส่วนของการโอนถ่ายไฟล์คือความเร็วในการเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์
ซึ่งในสมัยก่อนนั้น ไฟล์มีขนาดเล็ก ไม่ต้องการการโอนถ่ายข้อมูลมากนัก มีเพียงเอกสาร ข้อความ ขนาดเพียงไม่กี่กีโลไบต์เท่านั้น แต่สำหรับในปัจจุบัน มีการโอนถ่ายข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เราคงหงุดหงิดกับการเสียเวลารอในการค้นหา คัดลอก ย้ายข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เช่น อัลบั้มเพลง อัลบัมภาพ ไฟล์ภาพยนตร์ มิวสิควีดีโอ หรือแม้กระทั่งการทำงานกับไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ยิ่งต้องใช้เวลาในการโอนถ่ายข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากไฟล์มีขนาดใหญ่ จึงได้มีการพัฒนาความเร็วในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิกส์มาโดยตลอด สำหรับในสมัยก่อนนั้นจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ IDE66 (CD-ROM) IDE100 จากนั้นพัฒนาเป็น ATA133 (เราอาจเรียกว่า PATA คือ Parallel ATA) ซึ่งจะมีส่วนประกอบในการติดตั้งคือ สายแพร และสายไฟ และปัจจุบันกับรูปแบบการเชื่อมต่อแบบใหม่ SATA ที่เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ต่างรองรับการเชื่อมต่อแบบนี้กันทั้งสิ้น ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อโดยสายสีแดงๆเพียงเส้นเดียว และมีขนาดเล็ก บาง ทำให้ไม่เกะกะและสามารถระบายความร้อนในตัวเคส
ได้ีเป็นอย่างดีอีกด้วย โดยการเชื่อมต่อแบบ SATA นั้น เริ่มแรกได้มีการพัฒนาความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล
ที่ 1.5Gb/s จากนั้นพัฒนาเพิ่มความเร็วเป็น 2 เท่าคือ SATAII ด้วยความเร็ว
ในการโอนถ่ายข้อมูลที่ 3Gb/s จะเห็นได้ว่ามีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงกว่าแบบเดิมคือ IDE อยู่มากทีเดียว
ปัจจุบันการเชื่อมต่อแบบ IDE ผู้ผลิตเมนบอร์ดทั้งหลายต่างก็รองรับการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์แบบ SATA และ SATAII ส่วน ATA หรือ IDE นั้นยกตำแหน่งให้กับ DVD-Rom/DVD-RW หรือ CD-Rom แทน
SATA 6Gb/s
ทาง SATA-IO วางแผนที่จะสร้างมาตรฐานใหม่กับการเชื่อมต่อ SATA 6Gb/s ซึ่งแน่นอนว่าฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาขนาดความจุมากถึง 750GB
และเกือบจะเตะ 1 เทราไบต์แล้ว
(หากเทียบการคำณวน 1024KB = 1MB 1024MB = 1GB 1024GB = 1 Terabytes)
ยิ่งขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์สูงขึ้นเรื่อยๆตามความต้องการของซอฟต์แวร์และการบันทึกข้อมูลแบบดิจิตอล ทั้งภาพ เสียง มัลติมีเดียแล้วรับรองว่าการพัฒนาฮาร์ดดิสก์จะต้องเพิ่มขีดความสามารถ
ในการทำงานให้รองรับการโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่ๆได้โดยใช้เวลาไม่นาน มิฉะนั้นการคัดลอกไฟล์ใหญ่ๆคงจะต้องใช้เวลานานจนผู้ใช้เบื่อไปเลยก็ได้ (เปรียบเทียบจากแผ่น DVD ขนาดความจุ 4.7 GB ที่ได้รับความนิยมมาก
ทำให้คาดเดาได้ว่า การบันทึกข้อมูลในปัจจุบันนั้น ขนาดความจุ 4 GB นี่เป็นเรื่องเล็กๆไปแล้ว (ปกติแผ่นซีดี 700MB ปัจจุบันนับว่าความจุน้อยมากๆเมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่ยังใช้ Floppy Disk ขนาด 1.44 MB อยู่) แน่นอนว่าเราจะก้าวไปสู่ระดับเทราไบต์ในไม่ช้านี้
รู้จักกับ External SATA
ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหู แต่หากคุณอ่านสเปคของเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ก็จะเห็นได้ว่ารองรับการเชื่อมต่อแบบ eSATA ทั้งนั้น
นั่นหมายความว่า คุณสามารถนำฮาร์ดดิสก์แบบ SATA มาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ทันที
โดยที่ไม่ต้องปิดเครื่องเหมือนกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ USB ซึ่งขณะนี้ USB2.0 จะเรียกได้ว่ารองรับการโอนถ่ายข้อมูลครั้งละมากๆ ไม่ไหวแล้วเหมือนกัน ดังนั้น eSATA จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เป็นผลมาจากการกำหนดทิศทางเทคโนโลยีจากพฤติกรรม
ผู้บริโภคที่ต้องการสื่อบันทึกข้อมูลที่ไม่ใช่แค่ความจุ 128MB – 1GB อีกต่อไป แต่จะต้องการอุปกรณ์เก็บข้อมูลตั้งแต่ 80GB ขึ้นไป เนื่องจากเก็บภาพยนตร์ DVD แผ่นหนึ่งก็ใช้เนื้อที่ร่วมๆ 5GBเข้าไปแล้ว นี่ยังไม่นับ DVD9 Dual Layer ที่มีขนาดความจุ 8.5 GB อีก (จะเห็นได้ว่า เครื่องเล่น iPod ยอดนิยมเริ่มที่ความจุ 30GB – 60GB เข้าไปแล้ว
มาตรฐานสื่อบันทึกข้อมูลแบบใหม่ External SATA (eSATA):
ถ้าถามถึงสื่อบันทึกข้อมูล แน่นอนว่าสิ่งแรกที่นึกถึงคือ USB Mass Storage พวก USB Drive และ Memory Card ซึ่งแน่นอนว่าสื่อบันทึกข้อมูลเหล่านี้ได้เปรียบฮาร์ดดิสก์ตรงที่ความแข็งแรง ทนทาน ทนต่อแรงกระแทก ไม่เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ที่มีหัวอ่านที่บอบบาง เสี่ยงต่อความเสียหายของข้อมูลมากกว่า แต่ในปัจจุบัน ด้วยข้อจำกัดของการเชื่อมต่อแบบ USB และ IEEE1394 หรือ Firewire ทำให้การบันทึกข้อมูลแบบภายนอก eSATA มีบทบาทมากขึ้น
แต่เดิมนั้น SATA ได้รับการออกแบบให้ใช้เป็นอินเตอร์เฟซการเชื่อมต่อ
ฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายใน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบและความเร็ว
ในการโอนถ่ายไฟล์ การตัดต่อวีดีโอ แต่ต่อมาได้มีการนำเอาเทคโนโลยีนี้พัฒนา
เพื่อให้สามารถใช้งานแบบต่อภายนอกได้ แต่ยังคงความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพ
เช่นเดียวกับการเชื่อมต่อผ่าน USB หรือ IEEE1394 ซึ่งเราเรียกว่า external SATA หรือ eSATA นั่นเอง และด้วยข้อได้เปรียบนี้ คุณสามารถใช้สายเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ยาวถึง 2 เมตรมาเชื่อมต่อได้ อำนวยความสะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์
โดยไม่ต้องถอดฮาร์ดดิกส์จากคอมพิวเตอร์ก็ลากสายมาเชื่อมต่อได้ทันที นับว่าเป็นมาตรฐานใหม่ที่น่าจับตามองมากทีเดียว เนื่องจาก SATA มีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูลที่เร็วกว่า และ eSATA ให้ประสิทธิภาพในการโอนถ่ายข้อมูล
ที่เหนือกว่าโซลูชั่นอื่นๆและรองรับการเชื่อมต่อแบบ Hot Plug ซึ่งเมนบอร์ดหลากหลาย
ยี่ห้อรองรับ
ข้อดีของ eSATA คือ
- ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลรวดเร็วกว่า USB2.0 และ IEEE1394 ถึง 6 เท่า
- เชื่อมต่อ ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
- ประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ คุ้มค่ากับการลงทุน
- เชื่อมต่อผ่านสายยาวถึง 2 เมตร
ใช้เป็น External Direct Attached Storage (DAS)
เปรียบเทียบความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล (จาก SATA-IO)
แม้ว่าจะมีอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่เชื่อมต่อผ่าน USB2.0 มากมาย แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพไม่เท่า SATA ดังนั้นการเชื่อมต่อแบบ eSATA จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากที่สุดในขณะนี้
แหล่งข้อมูล
Wikipedia
SATA-IO
ข้อมูลและภาพเป็นลิขสิทธิ์ของเวปไซต์
The Serial ATA International Organization (SATA-IO)
แนะนำ - ติชม
ได้ที่
yokekung@gmail.com หรือ yoke_rit@hotmail.com ครับ