ในการประมวลผลภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นจะต้องใช้ชิปประมวลผลกราฟิคเพื่อช่วยแสดงรายละเอียดในการแสดงผลภาพให้สมจริง คมชัด โดยรวมแล้วเราสามารถแยกประเภทของชิปประมวลผลเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบชิบบนตัวเมนบอร์ด (On-board graphic chip) และการ์ดแสดงผลซึ่งเป็นการ์ดเชื่อมต่อบนสล็อตบนเมนบอร์ด โดยการสังเกตว่าคอมพิวเตอร์ของเรารองรับการ์ดแสดงผลแบบใด จะต้องดูจากชิปเซต และดูว่ามีสล็อตประเภทใดที่รองรับการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลด้วย
ปัจจุบันการ์ดแสดงผลมีการพัฒนาชิปประมวลผลให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้สามารถรองรับการประมวลผลภาพที่สมจริง เรียกได้ว่าแทบจะทุกๆ 6 เดือนเลยก็ว่าได้ โดยมักจะเน้นในด้านการแสดงผลในเกมสามมิติ การแสดงแสงเงาที่สมจริงในฉากเกม นอกจากนี้ยังมีเหตุผลในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลคือเรื่องของการรองรับการเชื่อมต่อ เช่น พอร์ต DVI เพื่อใช้เชื่อมต่อกับจอแสดงภาพแบบ Flat-panel เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ หรือภาครับวิทยุ FM รวมถึงการเชื่อมต่อกับวีดีโอต่างๆ เช่น S-Video และการเชื่อมต่อ Component ทำให้การ์ดแสดงผลเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่หลายคนพยายามไขว่หาการ์ดแสดงผลที่ดีที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุดอยู่เสมอ ซึ่งนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนกันบ่อยสำหรับนักเล่นเกมที่ต้องการความสามารถในการแสดงผลในระดับสูง โดยการ์ดแสดงผลรุ่นท็อปมักมีราคาในระดับ 1 – 2 หมื่นบาทเลยทีเดียว
ประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
(รูปภาพจาก http://www.pcstats.com)
Interface เข้าใจง่ายๆคือรูปแบบการเชื่อมต่อ นั่นคือรูปแบบของการ์ดที่เชื่อมต่อกับตัวเมนบอร์ดนั่นเอง โดยปัจจุบันจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express ที่สามารถเชื่อมต่อกับสล็อต PCI Express สำหรับพีซีรุ่นใหม่ หรือสำหรับรุ่นเก่าจะรองรับรูปแบบการเชื่อมต่อ AGP โดยจะมีความเร็ว 8X 4X และ 2X ซึ่งปัจจุบันจะมีให้เลือกเป็น AGP 8X* และ PCI Express x16 คุณไม่สามารถนำการ์ดแสดงผลแบบ AGP ติดตั้งลงในช่องเสียบการ์ดแบบ PCI Express โดยรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลมากกว่า AGP โดยทางทฤษฎีจะมีความเร็ว 16X ซึ่งเร็วกว่า 8X) สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express
Graphic Processor
เหมือนมันสมองในการประมวลผล โดยปัจจุบันเกมต่างๆได้รับการพัฒนาให้สามารถแสดงผลในรูปแบบสามมิติ ต้องขอบคุณการ์ดแสดงผลในปัจจุบันที่รองรับการแสดงผลที่สมจริงมากยิ่งขึ้น โดยชิปประมวลผลกราฟิก (Graphic Processing Unit : GPU) นั้นมีผลกับคุณภาพในการประมวลผลภาพมาก โดยชิปประมวลผลภาพจะแบ่งเป็น 2 ค่ายคือ nVidia และ ATi
ความสามารถในการแสดงผลภาพของการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูงจะสามารถเรนเดอร์ภาพได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ภาพที่ออกมาสวยงาม สดใส ไม่สะดุด ไม่มีการกระตุกให้เห็นในการเล่นเกมส์ รับชมภาพยนตร์ โดยจะมีการวัดค่าในการแสดงผลภาพในหน่วยเฟรมต่อวินาที (Frame per second เรียกย่อๆว่า fps) เช่นการรับชมภาพ 30 fps คือการรับชมภาพที่ 30 เฟรมต่อวินาที (ต้องอธิบายก่อนว่าภาพที่เราเห็นนั้น จะมีการเปลี่ยนเฟรมของภาพอย่างรวดเร็วจนตาของเราจับไม่ทัน ทำให้ภาพมีความต่อเนื่อง หากมีการแสดงผลเฟรมภาพได้มาก ก็จะแสดงภาพได้อย่างนิ่มนวลมากยิ่งขึ้น โดยคุณสมบัติของการ์ดแสดงผลที่ต้องนำมาพิจารณาคือ Pixel Shading การแสดงผลภาพ, Transparency การแสดงภาพความคมชัด ความลึกของภาพ, High Dynamic-rang lighting การสร้างแสงเงาของภาพ และความละเอียดในการแสดงผลภาพ เช่น 1600x1200 จะใช้กับหน้าจอที่แสดงผลภาพขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติ Antialiasing การเปิดคุณสมบัติทำให้ภาพมีความสมูท ไหลลื่น นิ่มนวล ไม่ดูแข็งกระด้าง
ในปัจจุบันเกมส่วนใหญ่มักจะใช้คุณสมบัติ DirectX 9 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลภาพให้คมชัด ยอดเยี่ยม นำประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์มาใช้เร่งความเร็วในการแสดงผลกราฟิกมากยิ่งขึ้น
หน่วยความจำ
ในการใช้งานด้านกราฟิก เช่น การเล่นเกมส์ ตัดต่อวีดีโอ จำเป็นต้องอาศัยการส่งผ่านข้อมูลไปฝากไว้ในหน่วยความจำสำหรับรอการประมวลผลภาพในแสดงผลต่อไป ซึ่งในปัจจบันเกมต่างๆต้องการเนื้อที่หน่วยความจำจำนวนมากในการประมวลผล โดยการ์ดแสดงผลมักมากับหน่วยความจำชนิด GDDR3 ขนาด หน่วยความจำอย่างน้อย 128MB โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานกับ Windows Vista ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคตกับคุณสมบัติ Aero Glass ส่วนในระดับเมนสตรีมแนะนำให้ใช้ขนาดหน่วยความจำที่ 256MB จนถึง 512MB โดยในปัจจุบัน (ไตรมาสที่ 1/2006) หน่วยความจำขนาด 512MB เป็นขนาดหน่วยความจำที่มากที่สุด
ในเกมเก่าๆ ขนาดหน่วยความจำ 128MB อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเล่นเกม หากต้องการอัตราการแสดงผลเฟรมภาพที่สูง และสามารถรองรับการแสดงผลที่ความละเอียด 1600x1200 pixels ควรมีขนาดหน่วยความจำที่ 256MB แต่ความต้องการอาจไม่ได้มากขนาดนั้น สำหรับคนที่เล่นเกมเก่าๆอยู่อาจยังไม่ถึงเวลาอัพเกรด จนกว่าจะมีเกมใหม่ๆที่ถูกใจออกมาจึงค่อยทำการอัพเกรดภายหลัง
ในชิประมวลผลกราฟิกในบางรุ่น เช่นเมนบอร์ดในเครื่องพีซี (หรือโน้ตบุค) อาจใช้หน่วยความจำหลักของระบบมาใช้ในการประมวลผลภาพด้วย ซึ่งจะแบ่งส่วนหน่วยความจำของระบบไปใช้ในการแสดงผลภาพกราฟิก ทำให้หน่วยความจำที่ใช้ในระบบปฏิบัติการลดน้อยลง หากหน่วยความจำระบบน้อยเพียง 128MB เมื่อถูกแบ่งไปใช้งานด้านกราฟิกอาจทำให้เหลือหน่วยความจำเพียงแค่ 96MB เท่านั้น แต่สำหรับชิปบนเมนบอร์ดในบางรุ่น เช่น Intel Celeron อาจมีชิปประมวลผลภาพกราฟิกมาให้ นั่นหมายถึงมีหน่วยความจำในตัวชิปต่างหากด้วย
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีในการจัดการหน่วยความจำโดยจัดสรรหน่วยความจำของระบบมาใช้กับการ์ดแสดงผลครึ่งหนึ่ง คือเทคโนโลยี TurboCache จาก nVidia และ HyperMemory จาก ATi
พอร์ตเชื่อมต่อ 2 พอร์ต
กราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ๆจะให้พอร์ตเชื่อมต่อ 2 พอร์ต โดยอาจจะให้พอร์ต DVI (Digital) และพอร์ต VGA (Analog) หรือให้พอร์ต DVI ทั้ง 2 พอร์ตเลยก็เป็นได้ โดยการเชื่อมต่อแบบ DVI จะส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่งให้คุณภาพในการแสดงผลที่ดีกว่าแบบอนาล็อค (พอร์ต DVI มักให้มากับจอภาพแบบ LCD) หรือจอแสดงผลระดับสูงที่รองรับการส่งผ่านข้อมูลแบบดิจิตอล สำหรับพอร์ต VGA หรือพอร์ค D-Sub 15 pin คือพอร์ตที่ใช้ต่อจอมอนิเตอร์แบบ CRT ทั่วๆไป จุดเด่นของการเชื่อมต่อจอแสดงผลแบบนี้คือสามารถเชื่อมต่อจอภาพได้มากถึง 2 - 4 จอเลยทีเดียว ทำให้เพิ่มพื้นที่การทำงานโปรแกรมต่างๆได้มากขึ้น หากการ์ดแสดงผลของคุณไม่มีพอร์ต VGA คุณก็สามารถเชื่อมต่อจอภาพแบบ DVI ผ่านทางตัวแปลง DVI-to-VGA ได้อีกด้วย
รูปแบบของพอร์ต DVI ชนิดต่างๆและพอร์ต VGA รวมทั้งอแดปเตอร์แปลง DVI to VGA
เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแสดงผลภาพ
ทั้ง nVidia และ ATi ต่างก็พัฒนาขีดความสามารถในการแสดงผลวีดีโอที่สมจริง ภาพคมชัด สดใส แยกแยะความแตกต่างของสีได้ดียิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี Avivo จาก ATi และ PureVideo จาก nVidia ช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์ DVD โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยความละเอียดระดับ High-definition ทำให้ภาพที่รับชมชัดเจน สดใส สมจริง มีชีวิตชีวา ไม่ใช่แค่จอภาพทื่อๆอีกต่อไป
ภาพคมชัด
สีสันสดใส
พอร์ต S-Video-out/-in
S-Video port
รองรับการส่งสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ จอฉายภาพโปรเจคเตอร์ จอ VCR และอุปกรณ์แสดงผลภาพอื่นๆ นอกจากนี้คุณยังพบกับการเชื่อมต่อแบบ VIVO (ย่อมาจาก Video in/Video out) และพอร์ต S-Video ให้คุณรับชมภาพจากกล้องถ่ายภาพวีดีโอได้อย่างง่ายดาย หมายความว่าคุณสามารถรับและส่งสัญญาณภาพในพอร์ตเดียวกันได้อีกด้วย
Composite-out/-in
Composite Cable
ทำงานเช่นเดียวกับพอร์ต S-Video แต่จะมีการส่งผ่านข้อมูลต่ำกว่า S-Video ใช้งานกับอุปกรณ์เก่าๆได้เป็นอย่างดี สำหรับการ์ดแสดงผลส่วนใหญ่มักจะให้สายแปลงพ่วงต่อ S-Video-to-composite อยู่แล้ว
TV-Tuner
TV Tuner Card
รับชมรายการโทรทัศน์ บันทึกรายการโทรทัศน์สุดโปรด ปกติการ์ด TV Tuner จะจำหน่ายแยกจากการ์ดแสดงผล แต่หากการ์ดแสดงผลมีคุณสมบัตินี้ก็สามารถรับชมโทรทัศน์ได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที
Overclocking
การปรับแต่งการ์ดแสดงผลให้ทำงานในระดับที่เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดมาจากโรงงาน จะเป็นสวรรค์ของนักปรับแต่งที่ชอบการโมดิฟาย โดยผู้ผลิตการ์ดจะยอมให้ทำการโอเวอร์คล็อคในระดับหนึ่ง โดยมีการป้องกันความเสียหายจากการโอเวอร์คล็อค ผู้ผลิตบางรายอาจจำหน่ายการ์ดแสดงผลที่ปรับแต่งความเร็วสัญญาณนาฬิกามาให้แล้ว โดยกระทำอยู่ในมาตรฐานที่ไว้วางใจได้ นอกจากนี้ยังมีการ์ดแสดงผลที่แถมซอฟต์แวร์ในการปรับแต่งเป็นลูกเล่นให้อีกด้วย ทำให้มีบางคนซื้อการ์ดแสดงผลมาเพื่อการโอเวอร์คล็อคกันเลยทีเดียว แต่การปรับแต่งต้องอาศัยความชำนาญ และระมัดระวังความเสียหายและความร้อนที่สะสมจากการจูนเครื่องให้ทำงานเกินกำลังความสามารถ
Antialiasing
เปรียบเทียบคุณสมบัติ Antialiasing
เทคโนโลยีในการ์ดแสดงผลที่ช่วยในการลบรอยหยักของภาพ ช่วยให้ภาพเคลื่อนไหวอย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด มีความคมชัดของภาพในระดับที่ไม่คมเกินไปนัก ภาพจะดูนุ่มนวลสบายตา คุณสมบัตินี้จะช่วยในการแสดงผลภาพในความละเอียดต่ำที่ภาพจะแตก หยาบ แสดงผลภาพในอัตราเฟรมเรตที่ต่ำ ทำให้ภาพที่ออกมาไม่แยกและหยาบจนเกินไป โดยคอเกมส์อาจเลือกเปิดคุณสมบัติเพื่อให้ภาพที่ละเอียด ราบรื่นยิ่งขึ้น หรือมีประสิทธิภาพในการแสดงผลสูงขึ้น
การรองรับการเชื่อมต่อแบบ Dual GPU
การเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลแบบคู่
การรันการ์ดแสดงผล 2 ตัวในระบบเดียวกัน จะช่วยในการประมวลผลภาพที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยต้องใช้เมนบอร์ดที่รองรับการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลแบบคู่ โดยทางฝั่ง nVidia จะใช้เทคโนโลยี SLi (Scalable Link Interface) ส่วนทาง ATi จะมากับคุณสมบัติ CrossFire โดยการ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ที่ใช้ความสามารถนี้จะสามารถแสดงผลที่ความละเอียด 1600x1200 pixel พร้อมเปิดใช้คุณสมบัติ antialiasing นอกจากนี้ทาง nVidia ยังได้พัฒนาชิปประมวลผลกราฟิกแบบ Quad-SLi ที่ให้การแสดงผลมากถึง 4 ชิปประมวลด้วยกัน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.nvidia.com และ http://www.ati.com)
พิจารณาจากสเปค
จะแบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
ระดับล่าง ขนาดหน่วยความจำ 128MB-256MB
ระดับกลาง ขนาดหน่วยความจำ 256MB
ระดับบน ขนาดหน่วยความจำ 256- 512MB
(หากขนาดหน่วยความจำมาก ก็จะมีราคาสูง แต่จะให้ประสิทธิภาพในการแสดงผลดีกว่า)
ระดับล่าง ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 300 – 500 MHz
ระดับกลาง ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 400 – 500 MHz
ระดับบน ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 450 MHz ขึ้นไป
(ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของการ์ดแสดงผลมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมในการแสดงผล
ภาพ)
อินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อ ทั้งระดับ ล่าง กลาง บน เลือกได้ทั้ง AGP / PCI Express
(ต้องพิจารณาจากเมนบอร์ดของคุณว่ารองรับการ์ดแสดงผลแบบใด หรือหากต้องการใช้การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ก็ต้องเลือกเมนบอร์ดให้เหมาะสมด้วย)
การเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผล
ระดับล่าง DVI 1 หรือ 2 พอร์ต
ระดับกลาง DVI 1 หรือ 2 พอร์ต
ระดับบน DVI 2 พอร์ต
พอร์ตการเชื่อมต่ออื่นๆ
ทุกระดับเลือกได้ทั้ง S-Video, Composite หรือ Component
(พิจารณาจากความสำคัญของงาน การตัดต่อวีดีโอแบบดิจิตอล พอร์ต S-Video จะดีกว่า นอกจากนี้ให้พิจารณาว่าอุปกรณ์ต่างๆที่คุณใช้งานรองรับพอร์ตชนิดใด)
พอร์ตการรับสัญญาณ:
ระดับล่าง ไม่ต้องมี Video/Audio input
ระดับกลางและบน Video Input / Audio Input
(หากต้องการบันทึกภาพจากโทรทัศน์หรือกล้องวีดีโอ การ์ดแสดงผลแบบ TV Tuner รองรับความสามารถในการบันทึกรายการโทรทัศน์อยู่แล้ว)
คำแนะนำในการเลือกซื้อ
1. ตรวจสอบชนิดการเชื่อมต่อการจอภาพที่คุณต้องการ รูปแบบการเชื่อมต่อที่เมนบอร์ดรองรับ หรือหากซื้อเมนบอร์ดแล้วให้พิจารณาว่าจะใช้การ์ดแสดงผลที่เชื่อมต่อในรูปแบบใด หรืออาจจะพิจารณาเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อ จากนั้นจึงซื้อเมนบอร์ด และซีพียูก็ได้
2. ตรวจสอบการเข้ากันได้ของการ์ดแสดงผล โดยการ์ดแสดงผลจะมี AGP2x/4x/8x นอกจากนี้ยังมีแรงดันไฟที่ต่างกัน เช่น 3.3 โวลต์อีกด้วย
3. พิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้เมนบอร์ดที่รองรับการ์ดแสดงผลแบบใด แล้วจึงเลือกการ์ดแสดงผลที่ต้องการ หรือหากต้องการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลแบบคู่ก็ต้องเลือกตั้งแต่เมนบอร์ดเลยทีเดียว
4. ตรวจสอบให้ดีว่าโปรแกรมหรือเกมที่คุณใช้นั้น รองรับเทคโนโลยีใดบ้าง แล้วจึงเลือกให้เหมาะสมกับงานที่เราใช้จริง
ขอให้โชคดีในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลนะครับ
ข้อมูลอ้างอิงจาก [URL=http://www.pcworld.com/howto/bguide/0,guid,21,page,1,00.asp]http://www.pcworld.com/howto/bguide/0,guid,21,page,1,00.asp
ตื่นตาตื่นใจไปกับภาพสมจริง ด้วยการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลให้โดนใจ
ปัจจุบันการ์ดแสดงผลมีการพัฒนาชิปประมวลผลให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้สามารถรองรับการประมวลผลภาพที่สมจริง เรียกได้ว่าแทบจะทุกๆ 6 เดือนเลยก็ว่าได้ โดยมักจะเน้นในด้านการแสดงผลในเกมสามมิติ การแสดงแสงเงาที่สมจริงในฉากเกม นอกจากนี้ยังมีเหตุผลในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลคือเรื่องของการรองรับการเชื่อมต่อ เช่น พอร์ต DVI เพื่อใช้เชื่อมต่อกับจอแสดงภาพแบบ Flat-panel เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ หรือภาครับวิทยุ FM รวมถึงการเชื่อมต่อกับวีดีโอต่างๆ เช่น S-Video และการเชื่อมต่อ Component ทำให้การ์ดแสดงผลเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่หลายคนพยายามไขว่หาการ์ดแสดงผลที่ดีที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุดอยู่เสมอ ซึ่งนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนกันบ่อยสำหรับนักเล่นเกมที่ต้องการความสามารถในการแสดงผลในระดับสูง โดยการ์ดแสดงผลรุ่นท็อปมักมีราคาในระดับ 1 – 2 หมื่นบาทเลยทีเดียว
ประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
(รูปภาพจาก http://www.pcstats.com)
Interface เข้าใจง่ายๆคือรูปแบบการเชื่อมต่อ นั่นคือรูปแบบของการ์ดที่เชื่อมต่อกับตัวเมนบอร์ดนั่นเอง โดยปัจจุบันจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express ที่สามารถเชื่อมต่อกับสล็อต PCI Express สำหรับพีซีรุ่นใหม่ หรือสำหรับรุ่นเก่าจะรองรับรูปแบบการเชื่อมต่อ AGP โดยจะมีความเร็ว 8X 4X และ 2X ซึ่งปัจจุบันจะมีให้เลือกเป็น AGP 8X* และ PCI Express x16 คุณไม่สามารถนำการ์ดแสดงผลแบบ AGP ติดตั้งลงในช่องเสียบการ์ดแบบ PCI Express โดยรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลมากกว่า AGP โดยทางทฤษฎีจะมีความเร็ว 16X ซึ่งเร็วกว่า 8X) สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express
Graphic Processor
เหมือนมันสมองในการประมวลผล โดยปัจจุบันเกมต่างๆได้รับการพัฒนาให้สามารถแสดงผลในรูปแบบสามมิติ ต้องขอบคุณการ์ดแสดงผลในปัจจุบันที่รองรับการแสดงผลที่สมจริงมากยิ่งขึ้น โดยชิปประมวลผลกราฟิก (Graphic Processing Unit : GPU) นั้นมีผลกับคุณภาพในการประมวลผลภาพมาก โดยชิปประมวลผลภาพจะแบ่งเป็น 2 ค่ายคือ nVidia และ ATi
ความสามารถในการแสดงผลภาพของการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูงจะสามารถเรนเดอร์ภาพได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ภาพที่ออกมาสวยงาม สดใส ไม่สะดุด ไม่มีการกระตุกให้เห็นในการเล่นเกมส์ รับชมภาพยนตร์ โดยจะมีการวัดค่าในการแสดงผลภาพในหน่วยเฟรมต่อวินาที (Frame per second เรียกย่อๆว่า fps) เช่นการรับชมภาพ 30 fps คือการรับชมภาพที่ 30 เฟรมต่อวินาที (ต้องอธิบายก่อนว่าภาพที่เราเห็นนั้น จะมีการเปลี่ยนเฟรมของภาพอย่างรวดเร็วจนตาของเราจับไม่ทัน ทำให้ภาพมีความต่อเนื่อง หากมีการแสดงผลเฟรมภาพได้มาก ก็จะแสดงภาพได้อย่างนิ่มนวลมากยิ่งขึ้น โดยคุณสมบัติของการ์ดแสดงผลที่ต้องนำมาพิจารณาคือ Pixel Shading การแสดงผลภาพ, Transparency การแสดงภาพความคมชัด ความลึกของภาพ, High Dynamic-rang lighting การสร้างแสงเงาของภาพ และความละเอียดในการแสดงผลภาพ เช่น 1600x1200 จะใช้กับหน้าจอที่แสดงผลภาพขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติ Antialiasing การเปิดคุณสมบัติทำให้ภาพมีความสมูท ไหลลื่น นิ่มนวล ไม่ดูแข็งกระด้าง
ในปัจจุบันเกมส่วนใหญ่มักจะใช้คุณสมบัติ DirectX 9 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลภาพให้คมชัด ยอดเยี่ยม นำประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์มาใช้เร่งความเร็วในการแสดงผลกราฟิกมากยิ่งขึ้น
หน่วยความจำ
ในการใช้งานด้านกราฟิก เช่น การเล่นเกมส์ ตัดต่อวีดีโอ จำเป็นต้องอาศัยการส่งผ่านข้อมูลไปฝากไว้ในหน่วยความจำสำหรับรอการประมวลผลภาพในแสดงผลต่อไป ซึ่งในปัจจบันเกมต่างๆต้องการเนื้อที่หน่วยความจำจำนวนมากในการประมวลผล โดยการ์ดแสดงผลมักมากับหน่วยความจำชนิด GDDR3 ขนาด หน่วยความจำอย่างน้อย 128MB โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานกับ Windows Vista ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคตกับคุณสมบัติ Aero Glass ส่วนในระดับเมนสตรีมแนะนำให้ใช้ขนาดหน่วยความจำที่ 256MB จนถึง 512MB โดยในปัจจุบัน (ไตรมาสที่ 1/2006) หน่วยความจำขนาด 512MB เป็นขนาดหน่วยความจำที่มากที่สุด
ในเกมเก่าๆ ขนาดหน่วยความจำ 128MB อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเล่นเกม หากต้องการอัตราการแสดงผลเฟรมภาพที่สูง และสามารถรองรับการแสดงผลที่ความละเอียด 1600x1200 pixels ควรมีขนาดหน่วยความจำที่ 256MB แต่ความต้องการอาจไม่ได้มากขนาดนั้น สำหรับคนที่เล่นเกมเก่าๆอยู่อาจยังไม่ถึงเวลาอัพเกรด จนกว่าจะมีเกมใหม่ๆที่ถูกใจออกมาจึงค่อยทำการอัพเกรดภายหลัง
ในชิประมวลผลกราฟิกในบางรุ่น เช่นเมนบอร์ดในเครื่องพีซี (หรือโน้ตบุค) อาจใช้หน่วยความจำหลักของระบบมาใช้ในการประมวลผลภาพด้วย ซึ่งจะแบ่งส่วนหน่วยความจำของระบบไปใช้ในการแสดงผลภาพกราฟิก ทำให้หน่วยความจำที่ใช้ในระบบปฏิบัติการลดน้อยลง หากหน่วยความจำระบบน้อยเพียง 128MB เมื่อถูกแบ่งไปใช้งานด้านกราฟิกอาจทำให้เหลือหน่วยความจำเพียงแค่ 96MB เท่านั้น แต่สำหรับชิปบนเมนบอร์ดในบางรุ่น เช่น Intel Celeron อาจมีชิปประมวลผลภาพกราฟิกมาให้ นั่นหมายถึงมีหน่วยความจำในตัวชิปต่างหากด้วย
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีในการจัดการหน่วยความจำโดยจัดสรรหน่วยความจำของระบบมาใช้กับการ์ดแสดงผลครึ่งหนึ่ง คือเทคโนโลยี TurboCache จาก nVidia และ HyperMemory จาก ATi
พอร์ตเชื่อมต่อ 2 พอร์ต
กราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ๆจะให้พอร์ตเชื่อมต่อ 2 พอร์ต โดยอาจจะให้พอร์ต DVI (Digital) และพอร์ต VGA (Analog) หรือให้พอร์ต DVI ทั้ง 2 พอร์ตเลยก็เป็นได้ โดยการเชื่อมต่อแบบ DVI จะส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่งให้คุณภาพในการแสดงผลที่ดีกว่าแบบอนาล็อค (พอร์ต DVI มักให้มากับจอภาพแบบ LCD) หรือจอแสดงผลระดับสูงที่รองรับการส่งผ่านข้อมูลแบบดิจิตอล สำหรับพอร์ต VGA หรือพอร์ค D-Sub 15 pin คือพอร์ตที่ใช้ต่อจอมอนิเตอร์แบบ CRT ทั่วๆไป จุดเด่นของการเชื่อมต่อจอแสดงผลแบบนี้คือสามารถเชื่อมต่อจอภาพได้มากถึง 2 - 4 จอเลยทีเดียว ทำให้เพิ่มพื้นที่การทำงานโปรแกรมต่างๆได้มากขึ้น หากการ์ดแสดงผลของคุณไม่มีพอร์ต VGA คุณก็สามารถเชื่อมต่อจอภาพแบบ DVI ผ่านทางตัวแปลง DVI-to-VGA ได้อีกด้วย
รูปแบบของพอร์ต DVI ชนิดต่างๆและพอร์ต VGA รวมทั้งอแดปเตอร์แปลง DVI to VGA
เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแสดงผลภาพ
ทั้ง nVidia และ ATi ต่างก็พัฒนาขีดความสามารถในการแสดงผลวีดีโอที่สมจริง ภาพคมชัด สดใส แยกแยะความแตกต่างของสีได้ดียิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี Avivo จาก ATi และ PureVideo จาก nVidia ช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์ DVD โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยความละเอียดระดับ High-definition ทำให้ภาพที่รับชมชัดเจน สดใส สมจริง มีชีวิตชีวา ไม่ใช่แค่จอภาพทื่อๆอีกต่อไป
ภาพคมชัด
สีสันสดใส
พอร์ต S-Video-out/-in
S-Video port
รองรับการส่งสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ จอฉายภาพโปรเจคเตอร์ จอ VCR และอุปกรณ์แสดงผลภาพอื่นๆ นอกจากนี้คุณยังพบกับการเชื่อมต่อแบบ VIVO (ย่อมาจาก Video in/Video out) และพอร์ต S-Video ให้คุณรับชมภาพจากกล้องถ่ายภาพวีดีโอได้อย่างง่ายดาย หมายความว่าคุณสามารถรับและส่งสัญญาณภาพในพอร์ตเดียวกันได้อีกด้วย
Composite-out/-in
Composite Cable
ทำงานเช่นเดียวกับพอร์ต S-Video แต่จะมีการส่งผ่านข้อมูลต่ำกว่า S-Video ใช้งานกับอุปกรณ์เก่าๆได้เป็นอย่างดี สำหรับการ์ดแสดงผลส่วนใหญ่มักจะให้สายแปลงพ่วงต่อ S-Video-to-composite อยู่แล้ว
TV-Tuner
TV Tuner Card
รับชมรายการโทรทัศน์ บันทึกรายการโทรทัศน์สุดโปรด ปกติการ์ด TV Tuner จะจำหน่ายแยกจากการ์ดแสดงผล แต่หากการ์ดแสดงผลมีคุณสมบัตินี้ก็สามารถรับชมโทรทัศน์ได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที
Overclocking
การปรับแต่งการ์ดแสดงผลให้ทำงานในระดับที่เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดมาจากโรงงาน จะเป็นสวรรค์ของนักปรับแต่งที่ชอบการโมดิฟาย โดยผู้ผลิตการ์ดจะยอมให้ทำการโอเวอร์คล็อคในระดับหนึ่ง โดยมีการป้องกันความเสียหายจากการโอเวอร์คล็อค ผู้ผลิตบางรายอาจจำหน่ายการ์ดแสดงผลที่ปรับแต่งความเร็วสัญญาณนาฬิกามาให้แล้ว โดยกระทำอยู่ในมาตรฐานที่ไว้วางใจได้ นอกจากนี้ยังมีการ์ดแสดงผลที่แถมซอฟต์แวร์ในการปรับแต่งเป็นลูกเล่นให้อีกด้วย ทำให้มีบางคนซื้อการ์ดแสดงผลมาเพื่อการโอเวอร์คล็อคกันเลยทีเดียว แต่การปรับแต่งต้องอาศัยความชำนาญ และระมัดระวังความเสียหายและความร้อนที่สะสมจากการจูนเครื่องให้ทำงานเกินกำลังความสามารถ
Antialiasing
เปรียบเทียบคุณสมบัติ Antialiasing
เทคโนโลยีในการ์ดแสดงผลที่ช่วยในการลบรอยหยักของภาพ ช่วยให้ภาพเคลื่อนไหวอย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด มีความคมชัดของภาพในระดับที่ไม่คมเกินไปนัก ภาพจะดูนุ่มนวลสบายตา คุณสมบัตินี้จะช่วยในการแสดงผลภาพในความละเอียดต่ำที่ภาพจะแตก หยาบ แสดงผลภาพในอัตราเฟรมเรตที่ต่ำ ทำให้ภาพที่ออกมาไม่แยกและหยาบจนเกินไป โดยคอเกมส์อาจเลือกเปิดคุณสมบัติเพื่อให้ภาพที่ละเอียด ราบรื่นยิ่งขึ้น หรือมีประสิทธิภาพในการแสดงผลสูงขึ้น
การรองรับการเชื่อมต่อแบบ Dual GPU
การเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลแบบคู่
การรันการ์ดแสดงผล 2 ตัวในระบบเดียวกัน จะช่วยในการประมวลผลภาพที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยต้องใช้เมนบอร์ดที่รองรับการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลแบบคู่ โดยทางฝั่ง nVidia จะใช้เทคโนโลยี SLi (Scalable Link Interface) ส่วนทาง ATi จะมากับคุณสมบัติ CrossFire โดยการ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ที่ใช้ความสามารถนี้จะสามารถแสดงผลที่ความละเอียด 1600x1200 pixel พร้อมเปิดใช้คุณสมบัติ antialiasing นอกจากนี้ทาง nVidia ยังได้พัฒนาชิปประมวลผลกราฟิกแบบ Quad-SLi ที่ให้การแสดงผลมากถึง 4 ชิปประมวลด้วยกัน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.nvidia.com และ http://www.ati.com)
พิจารณาจากสเปค
จะแบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
ระดับล่าง ขนาดหน่วยความจำ 128MB-256MB
ระดับกลาง ขนาดหน่วยความจำ 256MB
ระดับบน ขนาดหน่วยความจำ 256- 512MB
(หากขนาดหน่วยความจำมาก ก็จะมีราคาสูง แต่จะให้ประสิทธิภาพในการแสดงผลดีกว่า)
ระดับล่าง ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 300 – 500 MHz
ระดับกลาง ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 400 – 500 MHz
ระดับบน ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 450 MHz ขึ้นไป
(ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของการ์ดแสดงผลมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมในการแสดงผล
ภาพ)
อินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อ ทั้งระดับ ล่าง กลาง บน เลือกได้ทั้ง AGP / PCI Express
(ต้องพิจารณาจากเมนบอร์ดของคุณว่ารองรับการ์ดแสดงผลแบบใด หรือหากต้องการใช้การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ก็ต้องเลือกเมนบอร์ดให้เหมาะสมด้วย)
การเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผล
ระดับล่าง DVI 1 หรือ 2 พอร์ต
ระดับกลาง DVI 1 หรือ 2 พอร์ต
ระดับบน DVI 2 พอร์ต
พอร์ตการเชื่อมต่ออื่นๆ
ทุกระดับเลือกได้ทั้ง S-Video, Composite หรือ Component
(พิจารณาจากความสำคัญของงาน การตัดต่อวีดีโอแบบดิจิตอล พอร์ต S-Video จะดีกว่า นอกจากนี้ให้พิจารณาว่าอุปกรณ์ต่างๆที่คุณใช้งานรองรับพอร์ตชนิดใด)
พอร์ตการรับสัญญาณ:
ระดับล่าง ไม่ต้องมี Video/Audio input
ระดับกลางและบน Video Input / Audio Input
(หากต้องการบันทึกภาพจากโทรทัศน์หรือกล้องวีดีโอ การ์ดแสดงผลแบบ TV Tuner รองรับความสามารถในการบันทึกรายการโทรทัศน์อยู่แล้ว)
คำแนะนำในการเลือกซื้อ
1. ตรวจสอบชนิดการเชื่อมต่อการจอภาพที่คุณต้องการ รูปแบบการเชื่อมต่อที่เมนบอร์ดรองรับ หรือหากซื้อเมนบอร์ดแล้วให้พิจารณาว่าจะใช้การ์ดแสดงผลที่เชื่อมต่อในรูปแบบใด หรืออาจจะพิจารณาเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อ จากนั้นจึงซื้อเมนบอร์ด และซีพียูก็ได้
2. ตรวจสอบการเข้ากันได้ของการ์ดแสดงผล โดยการ์ดแสดงผลจะมี AGP2x/4x/8x นอกจากนี้ยังมีแรงดันไฟที่ต่างกัน เช่น 3.3 โวลต์อีกด้วย
3. พิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้เมนบอร์ดที่รองรับการ์ดแสดงผลแบบใด แล้วจึงเลือกการ์ดแสดงผลที่ต้องการ หรือหากต้องการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลแบบคู่ก็ต้องเลือกตั้งแต่เมนบอร์ดเลยทีเดียว
4. ตรวจสอบให้ดีว่าโปรแกรมหรือเกมที่คุณใช้นั้น รองรับเทคโนโลยีใดบ้าง แล้วจึงเลือกให้เหมาะสมกับงานที่เราใช้จริง
ขอให้โชคดีในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลนะครับ
ข้อมูลอ้างอิงจาก [URL=http://www.pcworld.com/howto/bguide/0,guid,21,page,1,00.asp]http://www.pcworld.com/howto/bguide/0,guid,21,page,1,00.asp