ประเด็นหลัก
ของฟรี ไม่มีในโลก เป็นคำอุทาหรณ์อย่างดี หลังจากที่เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มงานรับเรื่องราวร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม ได้เปิดเผยตัวเลขปัญหาการร้องเรียนกรณี แจกซิมการ์ดฟรี ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนกว่า 179 เรื่อง ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 14 ม.ค. 55 โดยพบว่า บริเวณอนุสาวรีย์สมรภูมิ สะพานลอย ตลาดนัด ต่างๆ เป็นจุดที่นิยมแจกซิมฟรี
ปัญหาการร้องเรียนปัญหาซิมฟรีเกิดจากการที่ผู้ให้บริการ และตัวแทนจำหน่ายของบริษัท ไม่ได้ให้รายละเอียดตามข้อเท็จจริงแก่ผู้บริโภค โดยการไม่แจ้งข้อมูลว่าซิมการ์ดดังกล่าวจดทะเบียนรายเดือน ซึ่งขณะที่ได้รับแจกซิมฟรีไปแล้วนั้นผู้บริโภคได้ลงนามเซ็นชื่อและมอบสำเนาบัตรประจำประชาชนไว้เป็นหลักฐาน ทำให้มีการเรียกเก็บค่าบริการ
__________________________________
เปิดปัญหาซิมฟรี ไม่อยากเสียรู้อ่านเงื่อนไขให้ดี
ของฟรี ไม่มีในโลก เป็นคำอุทาหรณ์อย่างดี หลังจากที่เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มงานรับเรื่องราวร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม ได้เปิดเผยตัวเลขปัญหาการร้องเรียนกรณี แจกซิมการ์ดฟรี ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนกว่า 179 เรื่อง ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 14 ม.ค. 55 โดยพบว่า บริเวณอนุสาวรีย์สมรภูมิ สะพานลอย ตลาดนัด ต่างๆ เป็นจุดที่นิยมแจกซิมฟรี
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานและคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า การรับเรื่องราวร้องเรียนกรณี แจกซิมการ์ดฟรี แม้จะอยู่เป็นลำดับที่5 รองลงมาจากปัญหา การกำหนดระยะเวลาผู้ใช้บริการ การคิดค่าบริการผิดพลาด มาตรฐานการให้บริการ และเรื่องของสัญญาณ บริการเสริมประเภทเอสเอ็มเอสขยะ ที่ทุกปัญหาได้ถูกร้องเรียน และทางอนุกรรมการก็ต้องเร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ปัญหาการร้องเรียนปัญหาซิมฟรีเกิดจากการที่ผู้ให้บริการ และตัวแทนจำหน่ายของบริษัท ไม่ได้ให้รายละเอียดตามข้อเท็จจริงแก่ผู้บริโภค โดยการไม่แจ้งข้อมูลว่าซิมการ์ดดังกล่าวจดทะเบียนรายเดือน ซึ่งขณะที่ได้รับแจกซิมฟรีไปแล้วนั้นผู้บริโภคได้ลงนามเซ็นชื่อและมอบสำเนาบัตรประจำประชาชนไว้เป็นหลักฐาน ทำให้มีการเรียกเก็บค่าบริการ
ล่าสุด คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลรับใบอนุญาต 3 จี ที่จะออกให้บริการได้เดือนเม.ย.56 ที่มีจำนวน 20 เลขหมาย โดยแบ่งเป็น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จำนวน 10 ล้านเลขหมาย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค จำนวน 5 ล้านเลขหมาย และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน ) หรือ ทรู จำนวน 5 ล้านเลขหมาย สถานการณ์การแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์วิธีการขาย จะยังคงเป็นการแจกซิมฟรี แบบยัดเยียดหรือไม่ เป็นสิ่งที่กสทช.และผู้ประกอบการต้องนำมาพิจารณาเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ
โดยเพื่อเป็นการคุ้มครอง ผู้บริโภค และลดผลกระทบปัญหาร้องเรียน การทำสัญญาระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ควรมีการกำหนดเงื่อนไขชี้แจง รายละเอียดของการให้บริการ ระบุไว้เพื่อให้ผู้บริโภคได้อ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาอย่างถูกต้อง ก่อนที่ผู้บริโภคจะลงนามเซ็นซื่อเพื่อขอเปิดใช้บริการ
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้กสทช.ต้องกระตุ้นให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่มีเนื้อหาคลุมเครือ และให้ความรู้เรื่องสิทธิผู้ใช้บริการ ส่วนผู้ให้บริการต้องเพิ่มควรระมัดระวังการทำตลาดให้มากยิ่งขึ้น
สุรัสวดี สิทธิยศ
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/174378
จุดอันตราย+++ อนุสาวรีย์สมรภูมิ สะพานลอย ตลาดนัด ต่างๆ เป็นจุดที่นิยมแจกซิมฟรี ++ (ระวังดีๆเปิดเบอร์ฟรีไม่รู้ตัว)++
ของฟรี ไม่มีในโลก เป็นคำอุทาหรณ์อย่างดี หลังจากที่เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มงานรับเรื่องราวร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม ได้เปิดเผยตัวเลขปัญหาการร้องเรียนกรณี แจกซิมการ์ดฟรี ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนกว่า 179 เรื่อง ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 14 ม.ค. 55 โดยพบว่า บริเวณอนุสาวรีย์สมรภูมิ สะพานลอย ตลาดนัด ต่างๆ เป็นจุดที่นิยมแจกซิมฟรี
ปัญหาการร้องเรียนปัญหาซิมฟรีเกิดจากการที่ผู้ให้บริการ และตัวแทนจำหน่ายของบริษัท ไม่ได้ให้รายละเอียดตามข้อเท็จจริงแก่ผู้บริโภค โดยการไม่แจ้งข้อมูลว่าซิมการ์ดดังกล่าวจดทะเบียนรายเดือน ซึ่งขณะที่ได้รับแจกซิมฟรีไปแล้วนั้นผู้บริโภคได้ลงนามเซ็นชื่อและมอบสำเนาบัตรประจำประชาชนไว้เป็นหลักฐาน ทำให้มีการเรียกเก็บค่าบริการ
__________________________________
เปิดปัญหาซิมฟรี ไม่อยากเสียรู้อ่านเงื่อนไขให้ดี
ของฟรี ไม่มีในโลก เป็นคำอุทาหรณ์อย่างดี หลังจากที่เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มงานรับเรื่องราวร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม ได้เปิดเผยตัวเลขปัญหาการร้องเรียนกรณี แจกซิมการ์ดฟรี ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนกว่า 179 เรื่อง ภายในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 14 ม.ค. 55 โดยพบว่า บริเวณอนุสาวรีย์สมรภูมิ สะพานลอย ตลาดนัด ต่างๆ เป็นจุดที่นิยมแจกซิมฟรี
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานและคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า การรับเรื่องราวร้องเรียนกรณี แจกซิมการ์ดฟรี แม้จะอยู่เป็นลำดับที่5 รองลงมาจากปัญหา การกำหนดระยะเวลาผู้ใช้บริการ การคิดค่าบริการผิดพลาด มาตรฐานการให้บริการ และเรื่องของสัญญาณ บริการเสริมประเภทเอสเอ็มเอสขยะ ที่ทุกปัญหาได้ถูกร้องเรียน และทางอนุกรรมการก็ต้องเร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ปัญหาการร้องเรียนปัญหาซิมฟรีเกิดจากการที่ผู้ให้บริการ และตัวแทนจำหน่ายของบริษัท ไม่ได้ให้รายละเอียดตามข้อเท็จจริงแก่ผู้บริโภค โดยการไม่แจ้งข้อมูลว่าซิมการ์ดดังกล่าวจดทะเบียนรายเดือน ซึ่งขณะที่ได้รับแจกซิมฟรีไปแล้วนั้นผู้บริโภคได้ลงนามเซ็นชื่อและมอบสำเนาบัตรประจำประชาชนไว้เป็นหลักฐาน ทำให้มีการเรียกเก็บค่าบริการ
ล่าสุด คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลรับใบอนุญาต 3 จี ที่จะออกให้บริการได้เดือนเม.ย.56 ที่มีจำนวน 20 เลขหมาย โดยแบ่งเป็น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จำนวน 10 ล้านเลขหมาย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค จำนวน 5 ล้านเลขหมาย และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน ) หรือ ทรู จำนวน 5 ล้านเลขหมาย สถานการณ์การแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์วิธีการขาย จะยังคงเป็นการแจกซิมฟรี แบบยัดเยียดหรือไม่ เป็นสิ่งที่กสทช.และผู้ประกอบการต้องนำมาพิจารณาเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ
โดยเพื่อเป็นการคุ้มครอง ผู้บริโภค และลดผลกระทบปัญหาร้องเรียน การทำสัญญาระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ควรมีการกำหนดเงื่อนไขชี้แจง รายละเอียดของการให้บริการ ระบุไว้เพื่อให้ผู้บริโภคได้อ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาอย่างถูกต้อง ก่อนที่ผู้บริโภคจะลงนามเซ็นซื่อเพื่อขอเปิดใช้บริการ
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้กสทช.ต้องกระตุ้นให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่มีเนื้อหาคลุมเครือ และให้ความรู้เรื่องสิทธิผู้ใช้บริการ ส่วนผู้ให้บริการต้องเพิ่มควรระมัดระวังการทำตลาดให้มากยิ่งขึ้น
สุรัสวดี สิทธิยศ
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/174378