สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
* กิโลวัตต์อาร์วมิเตอร์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหม้อไฟ มิเตอร์ไฟฟ้า ประกอบด้วยขอลวดสองขด
ขดกระแส (Current Coil) กับขดแรงดัน ( voltage Coil) เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไปเหนี่ยวนำให้จานกลมของมิเตอร์ให้หมุนไปได้
เพื่อไปขับเฟืองตัวเลขการใช้พลังงานไฟฟ้า
* การที่กำหนดว่า 5 ( 15 ) หมายความว่า มิเตอร์ตัวนี้ออกแบบมาสำหรับกระแสต่อเนื่ิอง 5 A ( สูงสุดได้ 15 A ในระยะเวลาหนึ่งไม่ต่อเนื่อง)
ซึ่งมิเตอร์จะไม่เสียหายและบอกค่าไฟฟ้าได้ตรง
* สงสัยว่าใช้เกิน 15 A ได้หรือไม่ ได้ครับ เนื่องจากขดลวดกระแส หรือ Current Coil เป็นขดลวดเส้นใหญ่มาก ประมาณ 4 Sq.mm
ซึ่งตัวนำขนาดนี้สามารถทนกระแสได้ถึง 27 A ( ตามมารตรฐาน NEC) แต่ถ้าไม่ตามมาตรฐาน คือตามความเป็นจริงแล้ว 100 A ก็ไหลได้
( ขอลวดน้อยรอบ ค่า Z น้อย ) เราจึงสามารถใช้กระแสเกินที่มิเตอร์กำหนดได้อย่างสบายไม่มีปัญหา
* ปัญหามันจะอยู่ที่ เมื่อเราใช้กระแสเกินกว่าที่มิเตอร์กำหนดคือ แกนเหล็กไม่สามารถสร้างสนามแม่เหล็กได้ตามสัดส่วนกระแสไหลได้
ความเร็วของจานหมุนจึงไม่ตรง ค่าที่ได้จึงผิดเพี้ยน ( ได้ค่าน้อยกว่าค่าจริง) ถ้าการไฟฟ้าตรวจพบ เขาจะให้เปลี่ยนเป็นกระแสสูงขึ้น
ขดกระแส (Current Coil) กับขดแรงดัน ( voltage Coil) เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไปเหนี่ยวนำให้จานกลมของมิเตอร์ให้หมุนไปได้
เพื่อไปขับเฟืองตัวเลขการใช้พลังงานไฟฟ้า
* การที่กำหนดว่า 5 ( 15 ) หมายความว่า มิเตอร์ตัวนี้ออกแบบมาสำหรับกระแสต่อเนื่ิอง 5 A ( สูงสุดได้ 15 A ในระยะเวลาหนึ่งไม่ต่อเนื่อง)
ซึ่งมิเตอร์จะไม่เสียหายและบอกค่าไฟฟ้าได้ตรง
* สงสัยว่าใช้เกิน 15 A ได้หรือไม่ ได้ครับ เนื่องจากขดลวดกระแส หรือ Current Coil เป็นขดลวดเส้นใหญ่มาก ประมาณ 4 Sq.mm
ซึ่งตัวนำขนาดนี้สามารถทนกระแสได้ถึง 27 A ( ตามมารตรฐาน NEC) แต่ถ้าไม่ตามมาตรฐาน คือตามความเป็นจริงแล้ว 100 A ก็ไหลได้
( ขอลวดน้อยรอบ ค่า Z น้อย ) เราจึงสามารถใช้กระแสเกินที่มิเตอร์กำหนดได้อย่างสบายไม่มีปัญหา
* ปัญหามันจะอยู่ที่ เมื่อเราใช้กระแสเกินกว่าที่มิเตอร์กำหนดคือ แกนเหล็กไม่สามารถสร้างสนามแม่เหล็กได้ตามสัดส่วนกระแสไหลได้
ความเร็วของจานหมุนจึงไม่ตรง ค่าที่ได้จึงผิดเพี้ยน ( ได้ค่าน้อยกว่าค่าจริง) ถ้าการไฟฟ้าตรวจพบ เขาจะให้เปลี่ยนเป็นกระแสสูงขึ้น

แสดงความคิดเห็น
สอบถามเป็นความรู้ครับ เรื่องขนาดแอม-มิเตอร์ไฟบ้าน-เบรกเกอร์ สงสัยมานานแล้ว!!
1. คือผมสงสัยมานานแล้วครับว่าทำไมหลายๆ บ้านต้องใช้เมนเบรกเกอร์หรือคัทเอาท์ขนาดใหญ่กว่ามิเตอร์ไฟบ้านมาก เช่น 60,100 A ในเมื่อมิเตอร์โหลดเต็มที่ 15,45 A เอง (จากการเข้า-ออกบ้านคนอื่นมาหลายสิบหลัง...เห็นเฉพาะพวกที่ยังใช้คัทเอาท์หรือเบรกเกอร์ไม่ใช่ตู้คอนซูเมอร์)
2. ทำไมมิเตอร์ 5(15)A ถึงใช้แอร์ 12000 btu 2เครื่อง กับ เครื่องทำน้ำอุ่น 3500 -5000watt และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เปิดพร้อมกันได้ครับ ทั้งๆที่มิเตอร์แค่ 15A จากการคำนวณคร่าวๆ แอร์สองตัวก็ 12A + น้ำอุ่น 15-20A + ทีวี หลอดไฟ อื่นๆ อีก 1-5A รวมแล้วก็ 30A กว่าๆ ยังทำงานได้โดยมิเตอร์ไม่ไหม้ครับ หรือว่าเป็นเพราะคัทเอาท์ในบ้านมัน 60A งงๆ
ตกลงเราต้องเอาแอมป์ของเบรกเกอร์-คัทเอาท์ในบ้าน หรือมิเตอร์ไฟหน้าบ้านเป็นตัว ต้านทานหลักครับ..
ตามทฤษฎีแล้วมิเตอร์มันไม่น่าจะพอนะครับ...แต่ทำไมทำงานได้โดยไม่ไหม้ แค่สงสัย...แน่ะนำทีครับ
ปล. เข้าออกบ้านคนอื่นบ่อยได้เพราะที่บ้านเคยส่งแก๊สครับ 555
เพิ่มเติม....ครับ แล้วเบรกเกอร์แบบ 1 โพล กับ 2 โพล มันทำงานต่างกันยังไง